สถิติภัยออนไลน์ ช่วงโควิด-19 หน้ากากอนามัย-เจลล้างมือ พบปัญหามากสุด

ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 OCC หรือ Online Complaint Center ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า จากการให้บริการคำแนะนำและรับเรื่องร้องเรียนปัญหาซื้อ-ขายออนไลน์ ในช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม 2563              ที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาทางออนไลน์ที่มีการร้องเรียนและขอคำแนะนำเข้ามามากที่สุดคือ ปัญหาจากการซื้อขายทางออนไลน์ จำนวน 4,786 ครั้ง ส่วนใหญ่เรื่องของการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของผู้ขายในออนไลน์ ก่อนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกว่า 40% รองมาคือการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาที่ไม่ได้รับสินค้าหรือถูกหลอกลวงทางออนไลน์ 18% โดยประเภทของสินค้าที่พบปัญหาการซื้อขายออนไลน์มากที่สุด ได้แก่ สินค้าแฟชั่น และ อุปกรณ์ไอที เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาเว็บไซต์ผิดกฎหมายเข้ามาที่ศูนย์ฯ จำนวน 4,772 ครั้ง เบื้องต้น ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น พร้อมประสานไปยังหน่วยงานความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ( DBD ) กองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ( ปท.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไปในทุกกรณีที่แจ้งเข้ามาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

สำหรับ สถานการณ์การแพรระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 นี้ ทางศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 OCC ยังพบข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ในช่วงเดือน มกราคม – 12 เมษายน 2563 พบสถิติการร้องเรียนจากผู้บริโภคเกี่ยวกับปัญหาการสั่งซื้อหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือทางออนไลน์แล้วไม่ได้รับสินค้าเพิ่มขึ้น จำนวน 234 ครั้ง จึงได้ประสานร้านค้า ผู้ขาย และดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าให้ได้รับการชดเชยเรียบร้อยแล้ว 10% ส่วนกรณีที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการ พร้อมกันนี้ทางศูนย์ฯ ประสานงานไปยังหน่วยงานความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง เช่น สคบ. ปอท. ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคห่างไกลปัญหาออนไลน์ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 OCC แนะนำ ผู้ซื้อต้องรู้ทันกลโกงของร้านค้าออนไลน์ที่มักเกิดขึ้นบ่อยในปัจจุบัน ได้แก่

  • สั่งซื้อ 1-2 ครั้งแรกส่งของตรงเวลา ให้บริการดี ตอบไว มีของแถมให้ด้วย พอจะสั่งซื้ออีก กลับปิดเพจหนี เชิดเงินลูกค้าเพียง
  • สั่งซื้อแล้ว พอถึงกำหนด กลับแจ้งว่าของมีตำหนิ บางทีของหมดสต๊อก แล้วแสดงความรับผิดชอบโดยให้ลูกค้าเลือกว่า จะรอสินค้าใหม่ หรือสั่งอย่างอื่นแทน แต่สุด
  • ท้ายไม่ส่งเลยทุกกรณี
  • มีเขียนไว้ว่าบริการเก็บเงินปลายทาง แต่คิดค่าส่งปลายทางแพงกว่ามากๆ จนลูกค้าอยากได้มาก ก็เลือกโอนเงินง่ายกว่า
  • ใช้วิธีการ ระบุข้อความดึงดูดเพื่อให้รีบตัดสินใจ เช่น เหลือ 2 ชิ้น ใครโอนก่อนได้เลย หรือ โอนวันนี้ พรุ่งนี่ของถึงมือ ฯลฯ

ที่สำคัญ ต้องรู้แนวทางป้องกันตัวไม่ให้ตกเป็นเหยื่อออนไลน์ ได้แก่

  • สังเกตรีวิว ไม่ใช่แค่เพจของร้าน แต่แนะนำให้ลองนำชื่อร้าน เบอร์โทร เลขที่/ชื่อบัญชีธนาคารค้นหา เช่น ใน Google เพิ่มเติม
  • ซื้อผ่านเพจร้านค้า หรือ Facebook ลองนำข้อมูลร้านตรวจสอบผ่าน e-Marketplace เพิ่มเติม หากร้านมีขายของบน e-Marketplace ด้วย จะมีข้อมูลที่อาจนำใช้ติดตามได้เช่นกัน
  • อย่าเห็นแก่ของถูก ของแถม ลดราคา บางร้านนำรูปแหล่งอื่นมาใช้ขายของ เช่น บางร้านชุดนำเข้าจากต่างประเทศ สวย หรู ดูดี ตั้ง 5 ตัว ราคาแค่ 1,000 บาท

อย่างไรก็ตาม หากผู้ซื้อ ผู้ขาย พบปัญหาซื้อ-ขายออนไลน์ สามารถปรึกษาและร้องเรียนได้ที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 OCC หรือ Online Complaint Center ของ ETDA ที่เปิดให้บริการทั้งช่องทางโทรศัพท์สายด่วน 1212 ตลอด 24 ชม. และอีเมล 1212@mdes.go.th หรือเว็บไซต์ www.1212occ.com  เพราะ ETDA มุ่งหวังให้คนไทย Go Online เพื่อชีวิตที่ดีกว่า

The short URL of the present article is: https://wealthnbiz.com/zlUhS

Read Previous

เครือสหพัฒน์ บุกตลาดช็อปออนไลน์ รับ COVID-19 ส่งฟรี!ทุกรายการ

Read Next

กลุ่ม KTIS ลั่นเอาผิดคนปลอมแอลกอฮอล์ KNAS หวั่นผู้บริโภคได้ของคุณภาพต่ำและแพง