1. Home
  2. Economic

Category: Economic

ธอส. ขยายเวลาช่วยลูกค้าเดิมที่อยู่ในมาตรการ COVID-19 ถึง 31 ธ.ค. 64

ธอส. ขยายเวลาช่วยลูกค้าเดิมที่อยู่ในมาตรการ COVID-19 ถึง 31 ธ.ค. 64

ธอส. ขยายเวลาช่วยลูกค้าเดิมที่อยู่ในมาตรการ COVID-19 ถึง 31 ธ.ค. 64ด้วย 8 มาตรการ ตามโครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ ลงทะเบียนภายใน 29 ต.ค. 64 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประกาศให้ลูกค้าเดิมที่อยู่ในมาตรการและยังคงได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เพื่อขอขยายระยะเวลาความช่วยเหลือผ่าน 8 มาตรการตาม “โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ” ครอบคลุมทั้งการแบ่งจ่ายเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้น ตัดดอกเบี้ย) พักชำระเงินต้นและจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย และพักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ย ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่าน Application :

ธอส. ขยายเวลาช่วยลูกค้าเดิมที่อยู่ในมาตรการ COVID-19 ถึง 31 ธ.ค. 64

ธอส. ขยายเวลาช่วยลูกค้าเดิมที่อยู่ในมาตรการ COVID-19 ถึง 31 ธ.ค. 64

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประกาศให้ลูกค้าเดิมที่อยู่ในมาตรการและยังคงได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เพื่อขอขยายระยะเวลาความช่วยเหลือผ่าน 8 มาตรการตาม “โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ” ครอบคลุมทั้งการแบ่งจ่ายเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้น ตัดดอกเบี้ย) พักชำระเงินต้นและจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย และพักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ย ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่าน Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy บน Application Line ภายใน 29 ตุลาคม 2564  ฉัตรชัย ศิริไล นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ

เปิดมุมมอง 3 กูรูตลาดทุน จับเทรนด์คนไทยซื้อกองทุนต่างประเทศได้เองโดยตรง

เปิดมุมมอง 3 กูรูตลาดทุน จับเทรนด์คนไทยซื้อกองทุนต่างประเทศได้เองโดยตรง

FinVest แอปพลิเคชันเพื่อการลงทุน ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดสัมมนาออนไลน์ ในหัวข้อ “ติดปีกการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ” อัพเดททิศทางความเคลื่อนไหวของตลาดการเงินโลกล่าสุด และกองทุนเมกะเทรนด์ที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นโอกาสใหม่ที่นักลงทุนรายย่อยไทยสามารถซื้อขายกองทุนต่างประเทศได้เองโดยตรงเป็นครั้งแรกผ่านแอปพลิเคชัน FinVest พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองผ่าน 3 กูรูตลาดทุน นายกิตติ สุทธิอรรถศิลป์ ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงาน Strategic Initiatives & Industry Utility ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นายชลเดช เขมะรัตนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มโรโบเวลธ์ และนายพสุ ลิปตพัลลภ กรรมการบริหาร บมจ. Proud Real Estate ในฐานะนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จและมีประสบการณ์ทำงานในตลาดการเงินระดับภูมิภาค  

ตลาดโซลูชั่นโรงงานอัจฉริยะไทย…คาดปี 64 เร่งเติบโตกว่า 10% ท่ามกลางการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ตลาดโซลูชั่นโรงงานอัจฉริยะไทย…คาดปี 64 เร่งเติบโตกว่า 10% ท่ามกลางการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ธุรกิจบริการโซลูชั่นโรงงานอัจฉริยะไทย (Smart Factory Solutions: SFS) มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นจากเดิมก่อนช่วงโควิดที่มีแนวโน้มเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยได้รับแรงหนุนหลักจากกระแสอุปสงค์ของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ต้องการปรับตัวเพื่อลดการพึ่งพาแรงงาน และกระแสการรุกลงทุนของผู้ประกอบการจีนในอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าไทย นอกจากนี้ ยังได้รับแรงเสริมจากการเปลี่ยนแปลงด้านอุปทานในช่วงปีที่ผ่านมาที่เกิดกระแสการจับมือเป็นพันธมิตรระหว่างผู้ประกอบการ SFS รายใหญ่สัญชาติญี่ปุ่นและจีน กับผู้ประกอบการเทเลคอมไทย ทำให้เกิดระบบนิเวศการให้บริการ SFS แบบครบวงจรขึ้นในไทย ทั้งนี้ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตไทยได้เริ่มขยายมุมมองเกี่ยวกับการลงทุนโรงงานอัจฉริยะจากเดิมที่มักจำกัดอยู่เพียงการนำหุ่นยนต์และระบบลำเลียงอัตโนมัติมาใช้งานเพื่อเพิ่มผลิตภาพและลดต้นทุนด้านแรงงาน ไปสู่การลงทุนเพื่อบริหารจัดการสายการผลิตแบบบูรณาการผ่านเทคโนโลยีต่างๆ เช่น IoT และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นต้น โดยนอกเหนือจากเพื่อทำให้การผลิตสามารถดำเนินการได้ต่อเนื่องและลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาแรงงานภายใต้วิกฤตโควิด-19 แล้ว ยังมีเป้าประสงค์ที่จะสร้างสายการผลิตที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าที่หลากหลายได้ในสายการผลิตเดียวกัน ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันแล้ว ยังช่วยให้สามารถวางแผนการผลิตทดแทนกันระหว่างโรงงานในกรณีวิกฤตได้ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองต่อประเด็นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ · ในช่วงก่อนหน้าการแพร่ระบาดของโควิด-19ตลาด SFS ไทย มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปเฉลี่ยราวร้อยละ 2.8 ต่อปีตามความต้องการเพิ่มผลิตภาพและลดต้นทุนด้านแรงงานของผู้ประกอบการรายใหญ่ในบางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่เน้นการส่งออกและต้องการการประหยัดเชิงขนาดในการผลิต เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยการลงทุนมักเน้นการนำหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่น

กรุงศรี และ MUFG จับมือ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ผลักดันสตาร์ทอัพไทยเติบโตทั่วโลก

กรุงศรี และ MUFG จับมือ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ผลักดันสตาร์ทอัพไทยเติบโตทั่วโลก

กรุงเทพฯ (6 ตุลาคม 2564) – กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) และ กรุงศรี ฟินโนเวต เดินหน้าสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีนวัตกรรมและสตาร์ทอัพทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โดยประสานพลังกับเครือข่ายอันแข็งแกร่งของ MUFG และ MUFG Innovation Partners ในการร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเติบโตของสตาร์ทอัพไทยในต่างประเทศ นอกจากนั้นยังมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อดึงดูดบริษัทสตาร์ทอัพจากประเทศญี่ปุ่นและนานาชาติเข้ามายังประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง การลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 5 องค์กรนี้จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2564 โดยมี ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมด้วย นายโนบูยะ คาวาซากิ Executive Officer, Managing Director และ Head of Global Commercial Banking Planning Division ธนาคาร MUFG นายโนบูทาเกะ ซูซูกิ President & CEO บริษัท MUFG Innovation Partners นายเซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

กรุงศรี และ MUFG จับมือ depa ผลักดันสตาร์ทอัพไทยเติบโตทั่วโลก

กรุงศรี และ MUFG จับมือ depa ผลักดันสตาร์ทอัพไทยเติบโตทั่วโลก

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) และ กรุงศรี ฟินโนเวต เดินหน้าสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีนวัตกรรมและสตาร์ทอัพทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โดยประสานพลังกับเครือข่ายอันแข็งแกร่งของ MUFG และ MUFG Innovation Partners ในการร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการเติบโตของสตาร์ทอัพไทยในต่างประเทศ นอกจากนั้นยังมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อดึงดูดบริษัทสตาร์ทอัพจากประเทศญี่ปุ่นและนานาชาติเข้ามายังประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง การลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 5 องค์กรนี้จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2564 โดยมี ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมด้วย นายโนบูยะ คาวาซากิ Executive Officer, Managing Director และ Head of Global Commercial Banking Planning Division ธนาคาร MUFG, นายโนบูทาเกะ ซูซูกิ President & CEO บริษัท MUFG Innovation Partners, นายเซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด

ตลาดหลักทรัพย์ฯ เตือนผู้ลงทุนอีกครั้งให้ระมัดระวังก่อนเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ T

ตลาดหลักทรัพย์ฯ เตือนผู้ลงทุนอีกครั้งให้ระมัดระวังก่อนเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ T

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เตือนผู้ลงทุนให้ระมัดระวังอย่างมากก่อนตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์บริษัท ที เอ็นจิเนียร์ริ่ง คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) (T) เนื่องจากสภาพการซื้อขายเปลี่ยนแปลงไปมาก แม้อยู่ในมาตรการกำกับการซื้อขายระดับ 3 ซึ่งเป็นมาตรการสูงสุด โดยในช่วงเวลาดังกล่าว T ชี้แจงผ่านระบบตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าไม่มีพัฒนาการสำคัญที่กระทบต่อสภาพการซื้อขายที่ปรับตัวขึ้น และตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เตือนผู้ลงทุนมาแล้วเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงในการซื้อขายหลักทรัพย์ T ได้หากราคาผันผวน จึงขอให้พิจารณาปัจจัยพื้นฐานและสารสนเทศที่แจ้งผ่านระบบตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้รอบคอบ นอกจากนี้ขอให้บริษัทสมาชิกทุกรายกำกับดูแลการซื้อขายและการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ T อย่างใกล้ชิดและเคร่งครัด เพื่อป้องกันการส่งคำสั่งซื้อขายที่อาจไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จากการติดตามสภาพการซื้อขายในช่วงที่ผ่านมาพบว่า หลักทรัพย์ T ราคาปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และในวันนี้ (6 ตุลาคม 2564) ราคาปรับตัวมาปิดภาคเช้าที่ระดับสูงสุด (New high) ที่ 0.56 บาท ด้วยค่า P/E ขาดทุน และ P/BV ที่ 42.81 เท่า ปัจจุบัน หลักทรัพย์ T อยู่ในมาตรการกำกับการซื้อขายระดับ 3 บริษัทสมาชิกต้องดำเนินการดังนี้ 1. ให้ผู้ลงทุนทุกประเภทที่ต้องการซื้อหลักทรัพย์ T ต้องวางเงินสด 100%

วิจัยกรุงศรีคาดกนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตลอดจนถึงสิ้นปีหน้า

วิจัยกรุงศรีคาดกนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตลอดจนถึงสิ้นปีหน้า

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปียังเผชิญความไม่แน่นอนสูง ขณะที่วิจัยกรุงศรีคาดกนง.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตลอดจนถึงสิ้นปีหน้า วิจัยกรุงศรีรายงานว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคมเกือบทุกภาคได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรง ขณะที่การฟื้นตัวในระยะถัดไปยังมีความไม่แน่นอน โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเดือนสิงหาคมลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน (-2.6% MoM sa) ตามกำลังซื้อที่อ่อนแอ และมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวด ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ด้านดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อนเช่นกัน (-1.6%) โดยลดลงในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างปรับดีขึ้นบ้างหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดในพื้นที่ก่อสร้าง ด้านมูลค่าการส่งออกเติบโตชะลอลงเหลือเลขหลักเดียว เนื่องจากการแพร่ระบาดที่รุนแรงขึ้นทั้งในประเทศและประเทศคู่ค้า และปัญหา supply disruption ทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับลดลงเหลือ 15,105 คน จากเดือนก่อน 18,056  คน  นอกจากนี้ ผลของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่อ่อนแอลง ประกอบกับปัญหา supply disruption

ออมสิน ออกมาตรการพักชำระหนี้ ช่วยลูกหนี้ประสบภัยน้ำท่วม

ออมสิน ออกมาตรการพักชำระหนี้ ช่วยลูกหนี้ประสบภัยน้ำท่วม

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดทั่วประเทศตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและช่วยเหลือลูกค้าของธนาคารออมสินและประชาชนในพื้นที่ พบว่าสถานการณ์น้ำท่วมได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และสร้างความเสียหายต่อลูกค้าและประชาชนเป็นวงกว้าง ธนาคารออมสินจึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม สำหรับลูกค้าสินเชื่อทุกประเภทของธนาคาร โดยให้พักชำระหนี้ เงินต้นและดอกเบี้ยนาน 3 เดือน (ยกเว้นสินเชื่อธุรกิจวงเงินไม่เกิน  100 ล้านบาท) ที่มีที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน หรือสถานประกอบธุรกิจอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและมีประกาศของทางราชการให้เป็นพื้นที่ประสบภัย รวมถึงลูกค้าที่พักชำระหนี้มาตรการอื่น ๆ ของธนาคารอยู่แล้ว และได้รับผลกระทบน้ำท่วมครั้งนี้ สามารถขอเข้ามาตรการดังกล่าวนี้ได้ โดยให้ติดต่อสาขาธนาคารออมสินที่มีบัญชีสินเชื่ออยู่ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ทั้งนี้ หลังครบกําหนดผ่อนผันพักชำระหนี้ 3 เดือนแล้ว ให้ชําระเงินงวดตามสัญญาเดิม หากยังไม่สามารถชำระหนี้ต่อได้ ขอให้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่ธนาคาร

สรรพากรแจ้งปิดระบบยื่นแบบและชำระภาษีอิเล็กทรอนิกส์ชั่วคราว (E-FILING)

สรรพากรแจ้งปิดระบบยื่นแบบและชำระภาษีอิเล็กทรอนิกส์ชั่วคราว (E-FILING)

เพื่อปรับปรุงและยกระดับการให้บริการ ตั้งแต่ วันที่ 1-5 ตุลาคม 2564 โดยระบบที่ไม่สามารถใช้บริการได้ คือบริการสมัครสมาชิก บริการยื่นแบบและชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์อ่านเพิ่มเติม>>https://bit.ly/3meH8xx ทั้งนี้สมาชิก e-Filing สามารถยื่นแบบและชำระภาษี และขอเสียอากรแสตมป์สำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา