1. Home
  2. Health

Category: Health

รพ.หัวเฉียวฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ไม่มีค่าใช้จ่าย!! แก่ผู้ถือสิทธประกันสังคมม.33และ39 รพ.หัวเฉียวที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

รพ.หัวเฉียวฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ไม่มีค่าใช้จ่าย!! แก่ผู้ถือสิทธประกันสังคมม.33และ39 รพ.หัวเฉียวที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

โรงพยาบาลหัวเฉียว ขอเชิญชวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมมาตรา 33 และ 39 รพ.หัวเฉียว ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป (ผู้ที่เกิดก่อน พ.ศ. 2517) เข้ารับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย!! เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 31 ธันวาคม 2567 วัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่เพียงแต่ลดอัตราความเสี่ยงต่อการติดไข้หวัดใหญ่เท่านั้น แต่ยังช่วยลดความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้ที่รับเชื้อ ลดอัตราการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ และยังช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันเหมาะสมกับเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่มาใหม่ในแต่ละปี สามารถเข้ารับบริการทุกวันจันทร์ - วันเสาร์ (ยกเว้นวันอาทิตย์ และวันหยุดโรงพยาบาล) ตั้งแต่เวลา 08:00 -

รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง” แนะชีวิตไม่มีสะดุด ด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาพทางออร์โธปิดิกส์

รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง” แนะชีวิตไม่มีสะดุด ด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาพทางออร์โธปิดิกส์

โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง มุ่งมั่นยกศักยภาพสู่การเป็นโรงพยาบาลชั้นนำ ล้ำหน้าด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ที่แม่นยำ หนึ่งในโรงพยาบาลระดับพรีเมี่ยมของประเทศไทย โดดเด่นด้วยทีมแพทย์ประจำเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เผยปัญหาการเจ็บปวดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อ จะไม่ทำให้ชีวิตต้องสะดุดอีกต่อไป ชี้ทางออกใหม่ในการรักษาด้วย “เวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาพทางออร์โธปิดิกส์” ช่วยฟื้นฟูกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็ว รศ.ดร.นพ.ตุลยพฤกษ์ ถาวรสวัสดิ์รักษ์ แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง เปิดเผยว่า หลายคนอาจจะออกกำลังกายหรือออกแรงแล้วมีอาการปวดกล้ามเนื้อระบมไปทั่วร่าง เจ็บตามข้อแขนข้อเข่า ซึ่งโดยปกติแล้วหากเป็นไม่มาก ร่างกายก็จะซ่อมแซมและหายเอง ด้วยกลไกร่างกายในการฟื้นฟูสภาพด้วยตัวเอง แต่หากเกิน  3 วันไปแล้ว ยังไม่ทุเลา หรือเกิดภาวะการบาดเจ็บมีการเจ็บปวดมากขึ้น ต้องรับการตรวจรักษา ซึ่งต้องดูตามลำดับขั้น ต้องวิเคราะห์ว่าเป็นโรคอะไร

โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว รักษาหายได้ด้วยเทคนิคสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด

โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว รักษาหายได้ด้วยเทคนิคสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด

โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ที่มักจะพบในเด็ก หรือวัยรุ่น แต่ในบางครั้งก็เพิ่งมาตรวจพบและวินิจฉัยได้ในช่วงที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว นายแพทย์ศุภสิทธิ์ สถิตย์ตระกูล อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (Atrial Septal Defect: ASD) คือโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ เกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการหัวใจตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ส่งผลให้ผนังกั้นหัวใจห้องบนไม่สมบูรณ์ มีรูรั่ว ทำให้เลือดแดงไหลจากหัวใจห้องบนซ้ายไปห้องบนขวา และผ่านไปปอดเพิ่มขึ้นส่งผลให้หัวใจโตผิดปกติ หากปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่ได้รักษา จะทำให้แรงดันในปอดสูง จนเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในท้ายที่สุด อาการของโรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง และขนาดของรูรั่ว โดยทั่วไปในเด็กที่มีรูรั่วขนาดใหญ่มักจะแสดงอาการให้เห็นตั้งแต่อายุยังไม่มาก อาทิเช่น หายใจเร็ว เหนื่อยง่าย กินนมได้น้อย น้ำหนักตัวขึ้นช้า เหงื่อออกง่าย ปอดติดเชื้อบ่อยๆ ตัวเขียว ในทางกลับกัน คนไข้ที่มีรูรั่วขนาดเล็ก อาจจะไม่แสดงอาการอะไรให้เห็นเลยในช่วงวัยเด็กถึงวัยรุ่น แต่พอเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จึงเริ่มแสดงอาการ

รพ.หัวเฉียว พร้อมให้บริการสำหรับผู้ประกันตนทั่วประเทศ  ในการเข้ารักษา 7 หัตถการโรคหัวใจ และผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี

รพ.หัวเฉียว พร้อมให้บริการสำหรับผู้ประกันตนทั่วประเทศ ในการเข้ารักษา 7 หัตถการโรคหัวใจ และผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี

  โรงพยาบาลหัวเฉียว ร่วมกับ สำนักงานประกันสังคม พร้อมดูแลผู้ประกันตน ที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด และการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับการรักษาเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดรักษาได้อย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาการรอคอยการผ่าตัด ไม่ต้องสำรองจ่าย และไม่ต้องจ่ายเพิ่มเติมตามข้อกำหนดของประกันสังคม ในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการใน 7 หัตถการ ได้แก่ การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ การขยายหลอดเลือดหัวใจ การใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ การใส่เครื่องช่วยการเต้นของหัวใจชนิดกระตุ้นหัวใจห้องล่างสองห้องพร้อมกัน การศึกษาสรีระวิทยาไฟฟ้าหัวใจและการจี้ไฟฟ้าหัวใจ การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ไฟฟ้าในการสร้างภาพ 3 มิติ การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร สำหรับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง ผู้ป่วยจะฟื้นตัวเร็ว แผลเล็กเจ็บน้อย ดูแลง่าย รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดแบบเปิด ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการได้ตั้งแต่วันนี้ - 30 มิถุนายน 2567

มะเร็งทางนรีเวช ภัยร้าย.. ที่ผู้หญิงควรรู้

มะเร็งทางนรีเวช ภัยร้าย.. ที่ผู้หญิงควรรู้

มะเร็งทางนรีเวช หรือมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิง มีปัจจัยเสี่ยงสำคัญมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของอวัยวะสืบพันธุ์ โดยมี 3 อันดับที่พบบ่อยได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งรังไข่ อาการสำคัญ.. เป็นสัญญาณเตือนที่ผู้หญิงไม่ควรละเลย ผู้หญิงเราควรตระหนักอยู่เสมอว่า มะเร็งทางนรีเวช เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ต้องตรวจพบและรับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของโรค จึงแนะนำให้สังเกตว่าตนเองมีอาการผิดปกติเช่นนี้หรือไม่ 1. เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด เลือดออกในวัยหมดประจำเดือน เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ เลือดออกกะปริดกะปรอยระหว่างรอบเดือน หรือมีตกขาวปนเลือด อาจเป็นอาการเตือนของมะเร็งนรีเวช หลายอย่าง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งรังไข่ เป็นต้น 2. ปวดในอุ้งเชิงกราน ถ้ามีอาการปวดเป็นประจำ อาจเป็นอาการเตือนของมะเร็งรังไข่

ผลงานวิจัยใหม่พบ “ไข่” ลดความเสี่ยงกระดูกพรุน

ผลงานวิจัยใหม่พบ “ไข่” ลดความเสี่ยงกระดูกพรุน

แพทย์ เผยผลงานวิจัยชิ้นใหม่ พบ “การกินไข่” ช่วยลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนได้ กระตุ้นเอนไซม์ในร่างกาย เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง พร้อมแนะกินไข่วันละ 1 - 2 ฟองต่อวัน ดีต่อหัวใจและกระดูก รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดเผยว่า การศึกษาวิจัยในวารสาร Food and Function ของสหรัฐอเมริกา เผยแพร่เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา พบว่า การบริโภคไข่ไก่มีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของมวลกระดูกที่มากขึ้นในคนอเมริกัน ในงานวิจัยฉบับนี้ได้เพิ่ม "ไข่ไก่" ให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เพิ่มจากรายการอาหารอื่นๆ ที่อุดมด้วยแคลเซียมอย่าง ผักใบเขียว หรือผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งถือเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพกระดูกมาอย่างยาวนาน

ม.มหิดลเปิดวท.ม.อนามัยโรงเรียนนานาชาติ ฝึกทักษะครู ส่งพลังสุขภาวะยั่งยืน

ม.มหิดลเปิดวท.ม.อนามัยโรงเรียนนานาชาติ ฝึกทักษะครู ส่งพลังสุขภาวะยั่งยืน

การดูแลอนามัยในโรงเรียนเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคน ไม่ใช่เป็นหน้าที่เฉพาะ “พยาบาลโรงเรียน” หรือ “ชั่วโมงวิชาสุขศึกษา “การดูแลอนามัยในโรงเรียนที่ยั่งยืนที่สุด คือ การที่ทุกคนในโรงเรียนมีองค์ความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาพแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน รองศาสตราจารย์ ดร.พัฒนียา ปรางทิพย์ หัวหน้าภาควิชาโภชนศาสตร์เขตร้อนและวิทยาศาสตร์ และ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยโรงเรียน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล วท.ม.อนามัยโรงเรียนนานาชาติ เป็นหลักสูตรที่มอบองค์ความรู้ในการดูแลและบริหารจัดการสุขภาพแก่ครู เพื่อส่งต่อ “พลังสุขภาวะ” ไปยังนักเรียนในโรงเรียน นับเป็นที่แรกและที่เดียวในประเทศไทยที่ได้มีการจัดตั้งหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยโรงเรียน เป็นหลักสูตรนานาชาติ ขึ้นที่ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยจุดมุ่งหมายของหลักสูตรฯ ไม่ได้มุ่งเพียงระดับประเทศ แต่มุ่งสู่ระดับโลก โดยเชื่อว่าหากครูมีองค์ความรู้เรื่องสุขภาวะที่ดี นักเรียนก็จะมีองค์ความรู้ และทักษะสุขภาวะที่สามารถพึ่งพาตนเอง

โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ภัยเงียบอันตรายที่พร้อมคร่าชีวิต

โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ภัยเงียบอันตรายที่พร้อมคร่าชีวิต

 โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีด้วยกันหลายประเภท ที่พบได้บ่อยที่สุดคือหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ซึ่งผู้ป่วยมากกว่า 50% มักไม่มีอาการผิดปกติ ทำให้เข้าถึงการรักษาล่าช้าและเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป 1.5 – 3.5 เท่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ศราวุธ ลิ้มประเสริฐ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด เฉพาะทางด้านสรีระไฟฟ้าหัวใจโรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หรือ Atrial Fibrillation เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจห้องบน ส่งผลให้หัวใจเต้นเป็นจังหวะไม่สม่ำเสมอ ซึ่งบ่อยครั้งทำให้หัวใจเต้นเร็วมากกว่าปกติ มากกว่าครึ่งของผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติ ซึ่งถือนำไปสู่การรักษาที่ล่าช้าได้ อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของโรค ได้แก่ ใจสั่น เพลีย วิงเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก และเกิดความวิตกกังวลระหว่างที่มีหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ ซึ่งอาการเหล่านี้มีได้ตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อยที่ไม่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน จนถึงกระทั่งรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวันได้

รพ.เด็กสมิติเวช สุขุมวิท ชวนปกป้องลูกน้อยจากไข้เลือดออก ด้วยการฉีดวัคซีนชนิดใหม่

รพ.เด็กสมิติเวช สุขุมวิท ชวนปกป้องลูกน้อยจากไข้เลือดออก ด้วยการฉีดวัคซีนชนิดใหม่

เพราะไข้เลือดออกน่ากลัวกว่าที่คิด รพ.เด็กสมิติเวช สุขุมวิทผู้นำในบริการด้านกุมารเวชศาสตร์ของประเทศไทย ตอกย้ำการดูแล แบบ Early Care ป้องกันก่อนป่วย จัดกิจกรรม “Dengue Zero Day” ให้ความรู้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีป้องกัน เพื่อปกป้องลูกหลานให้ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก โรคที่คาดว่าจะมีการระบาดหนักในปี 2567 ซึ่งพบผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว 20,590 ราย โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กอายุ 5-14 ปี การมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจะช่วยให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก ที่ผ่านมาเราอาจคุ้นเคยกับมาตราการต่างๆ ในการป้องกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเก็บน้ำ เก็บขยะ ทำสภาพแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง และอีกหนึ่งวิธีในการป้องกันโรคคือการฉีดวัคซีนเพื่อลดการเจ็บป่วยและการนอนโรงพยาบาล เพราะไข้เลือดออกไม่มียารักษา เป็นการรักษาตามอาการเท่านั้น พญ.สุรางคณา เตชะไพฑูรย์

อายุน้อยก็เสี่ยงนะ! สังเกตสัญญาณโรคหลอดเลือดสมองในหนุ่ม-สาว Stoke in the young

อายุน้อยก็เสี่ยงนะ! สังเกตสัญญาณโรคหลอดเลือดสมองในหนุ่ม-สาว Stoke in the young

ปัจจุบันเราเริ่มพบว่า ผู้ป่วยเป็น STROKE พบได้ในผู้ที่มีอายุน้อยลงในจำนวนที่มากขึ้น โดยเกิดกับผู้ที่อายุต่ำกว่า 45 ปี และจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขไทยระบุว่า ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2566 ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากถึง 349,126 ราย เสียชีวิต 36,214 ราย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี ซึ่งปกติแล้วโรคนี้มักจะเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ทุกเพศทุกวัย แต่ในปัจจุบันพบได้มากกับผู้ที่มีอายุ 18-50 ปี ในประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน เรียกว่า “โรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย” (stroke in