1. Home
  2. FEATURED

Category: FEATURED

ก.ล.ต. กับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานกลาง เพื่อมุ่งสู่ตลาดทุนดิจิทัล (ตอนที่ 1)

ก.ล.ต. กับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานกลาง เพื่อมุ่งสู่ตลาดทุนดิจิทัล (ตอนที่ 1)

โดย นางสาวอาชินี ปัทมะสุคนธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการสายสื่อสารองค์กรและเครือข่ายตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในช่วงปลายปี 2562 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure) ของตลาดทุนไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น DLT หรือ blockchain เป็นต้น มาปรับใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพตลาดทุน ซึ่งโครงการได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมเพื่อการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) โดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจและช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ ลดต้นทุนการทำธุรกรรมและอำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงตลาดทุนได้ง่าย รวมถึงได้รับบริการผ่านระบบดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure) จะเปรียบเสมือนถนนสายกลางหรือกระดูกสันหลังของตลาดทุนที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบหลังบ้าน (back office) ของผู้เกี่ยวข้องทั้งอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน และถูกออกแบบให้เป็น

ส่อง TOD “RISE CITY” แห่ง ฝูโจว กับการสร้างพื้นที่สีเขียวรอบสถานีรถไฟ

ส่อง TOD “RISE CITY” แห่ง ฝูโจว กับการสร้างพื้นที่สีเขียวรอบสถานีรถไฟ

การพัฒนา TOD (Transit-oriented Development) นอกจากจะช่วยเชื่อมโยงการเดินทางของคนได้อย่างสะดวก ปลอดภัยแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือ การจัดสรรพื้นที่สีเขียวเป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ผู้สัญจรได้รับประโยชน์ทั้งจากความร่มรื่นของร่มไม้ รวมถึงเป็นการสร้างพื้นที่สีเขียวให้กับพื้นที่รอบสถานีรถไฟ สำหรับพื้นที่ในกรุงเทพฯ นั้นมีสถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้กับสวนสาธารณะ เช่น “สวนลุม” อยู่ระหว่างรถไฟฟ้าใต้ดิน 2 สถานี “สวนเบญจกิติ” อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 3 สถานี และ “สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)” อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 2 สถานี แต่พื้นที่สีเขียวข้างต้นนั้นเป็นสวนสาธารณะที่มีรั้วกั้น มีเวลาเปิด-ปิด ตายตัว ทำให้ผู้เดินทางไม่สามารถใช้เป็นเส้นทางสัญจรได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่สร้างมาก่อนจะเกิดสถานีรถไฟ ทำให้แตกต่างจากการออกแบบพื้นที่สีเขียวแบบ TOD ที่มีการวางโครงสร้างในภาพใหญ่ตั้งแต่เริ่มโครงการเพื่อเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟในบริเวณใกล้เคียง ซึ่ง

เคลียร์ให้ชัด 5 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ “ประกัน”

เคลียร์ให้ชัด 5 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ “ประกัน”

แม้ช่วงโควิด-19 จะทำให้คนไทยสนใจทำ “ประกัน” มากขึ้น แต่ก็ยังมีอีกหลายคนมองว่าประกันไม่ใช่สิ่งจำเป็น!  โลกทุกวันนี้มีความเสี่ยงอยู่รอบด้าน การมีประกัน จึงถือเป็นเครื่องมือทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ช่วยเราบริหารความเสี่ยงในชีวิตเราได้ ทำให้เป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ไม่ติดขัด และที่สำคัญการมีประกันที่พอดีกับชีวิตของเรา เหมาะสมกับตัวเองในแต่ละช่วงวัยก็จะทำให้ชีวิตการเงินของเราราบรื่นตามแผนที่วางไว้ได้หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน “fintips by ttb เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ” จึงชวนทุกคนที่สนใจที่จะทำประกันมาเช็กไปพร้อม ๆ กัน ว่ายังมีความเชื่อใดที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประกันอยู่บ้าง เพื่อชวนปรับเปลี่ยนมุมคิดกับ 5 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการซื้อ “ประกัน”เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น 1. อายุน้อย ไม่มีภาระทางบ้าน ไม่ต้องซื้อประกันชีวิตเดี๋ยวไม่คุ้ม! การซื้อประกันชีวิตเป็นการป้องกันความเสี่ยง จึงไม่ควรมุ่งเน้นเรื่อง “ความคุ้มค่า” เพียงอย่างเดียว ประกันชีวิต จำเป็นสำหรับทุกคนในครอบครัว

“เชฟไทยในเวทีโลก” ความจริงที่ไม่ใช่ความฝัน

“เชฟไทยในเวทีโลก” ความจริงที่ไม่ใช่ความฝัน

  “ผมมีวันนี้ได้เพราะประเทศไทย” นี่คือคำกล่าวของ เชฟวิลเมนต์ ลีออง เชฟชาวสิงคโปร์หัวใจไทย ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารประจำภูมิภาคเอเชีย ของสมาคมเชฟโลก (World Association of Chefs’ Societies หรือ Worldchefs) ดูแลสมาชิกในเครือข่ายรวม 21 ประเทศในเอเชีย จากสมาชิกทั้งหมด 110 ประเทศทั่วโลก จุดเริ่มต้นของผมเกิดขึ้นที่ประเทศไทย และผมได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรสำคัญอย่าง บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ที่เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักมากว่า 10 ปี ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง สถาบัน Thailand Culinary Academy

พาไปส่องนวัตกรรมรักษ์โลกกับรถ mobile refill station ช่วยลดขยะบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน

พาไปส่องนวัตกรรมรักษ์โลกกับรถ mobile refill station ช่วยลดขยะบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน

  ปัจจุบัน ทุกภาคส่วนได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินกิจการที่มุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะภาคประกอบการให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อคนไทย ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจ 53 ปี เน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ภายใต้ความเข้าใจระบบนิเวศน์ ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goal ร่วมสร้างสังคมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมแบบยั่งยืน “ไลอ้อน (ประเทศไทย) ให้ความสำคัญกับการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ได้กำหนดนโยบายการดำเนินธุรกิจ ในปี 2050 บริษัท ฯ

ถอดบทเรียนความสำเร็จ แคมเปญสื่อโฆษณาดีแทค ฝ่าวิกฤตยุคโควิด 19 ได้สุดปัง

ถอดบทเรียนความสำเร็จ แคมเปญสื่อโฆษณาดีแทค ฝ่าวิกฤตยุคโควิด 19 ได้สุดปัง

การันตี 7 รางวัลใช้สื่อโฆษณาที่โดดเด่น ผสมผสานสื่อสร้างสรรค์ได้แตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ ในเวที Media Awards 2022 (MAAT : Media agency association of Thailand) ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา วิกฤตโควิด 19 ทำให้แบรนด์ต่างๆต้องเผชิญกับความท้าทาย และต้องปรับวิธีการทำงานในการสื่อสารเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภค จากความท้าทาย 3 ข้อ คือ 1. พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลอย่างก้าวกระโดด 2. ความท้าทายจากความต้องการและวิถีการซื้อและใช้บริการบนโลกออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น 3. ความสนใจในสุขภาพ ความปลอดภัยห่างไกลจากโควิด 19 ดีแทคจึงปรับวิธีคิด วางกลยุทธ์การใช้สื่อ ทดลอง หาแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานการสื่อสารในรูปแบบใหม่

พีอาร์นิวส์ไวร์ เปิดตัวรายงานภูมิทัศน์สื่อเอเชียแปซิฟิกปี 2565 เผยแนวโน้มและทิศทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมสื่อในภูมิภาค

พีอาร์นิวส์ไวร์ เปิดตัวรายงานภูมิทัศน์สื่อเอเชียแปซิฟิกปี 2565 เผยแนวโน้มและทิศทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมสื่อในภูมิภาค

พีอาร์นิวส์ไวร์ เปิดตัวรายงานภูมิ ฮ่องกง--28 มิถุนายน 2565--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ พีอาร์นิวส์ไวร์ (PR Newswire) ผู้ให้บริการเผยแพร่ข่าว รวมถึงซอฟต์แวร์และบริการสื่อแบบ Earned Media ชั้นแนวหน้าของโลก ได้เปิดตัวรายงานภูมิทัศน์สื่อเอเชียแปซิฟิกปี 2565 (APAC Media Landscape 2022) ในวันนี้ เพื่อมอบข้อมูลเชิงลึกที่มีความครอบคลุมเกี่ยวกับทิศทางและการพัฒนาของอุตสาหกรรมสื่อในตลาด 9 แห่งทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รายงานฉบับนี้ช่วยให้ภาคธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารสามารถสำรวจภูมิทัศน์ของสื่อท้องถิ่นที่มีความซับซ้อนและหลากหลายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ดียิ่งขึ้นผ่านข้อมูลเฉพาะของแต่ละตลาด โดยข้อมูลดังกล่าวครอบคลุมถึงสื่อยอดนิยม การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายสื่อที่สำคัญ ตลอดจนหัวข้อและประเด็นต่าง ๆ ที่กำลังได้รับความสนใจในอุตสาหกรรม ครอบคลุม 9 ตลาดด้วยกัน ได้แก่ ออสเตรเลีย จีนแผ่นดินใหญ่

เจาะลึกเทรนด์ NFT กระแสโลกมาแรง ต่อยอดสู่การตลาดยุคใหม่

เจาะลึกเทรนด์ NFT กระแสโลกมาแรง ต่อยอดสู่การตลาดยุคใหม่

มื่อเทรนด์ของสะสมในโลกดิจิทัลอย่าง NFT กำลังได้รับความนิยมจากคนทั้งโลกรวมถึงคนไทย มีสถิติจำนวนผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้ NFT ในไทยกว่า 5.65 ล้านราย สูงเป็นอันดับต้นๆของโลก นักการตลาดจากทั่วโลกเชื่อว่า NFT กำลังจะกลายเป็นหนึ่งในรูปแบบการทำตลาดยุคดิจิทัลที่มาแรงมาก เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าทั่วโลกโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดีในเวลาอันรวดเร็ว ล่าสุด LINE ประเทศไทย จัดงานสัมมนา NFT FOR BUSINESS: The Future of Marketing with LINE CREATORS นำเสนอความรู้เกี่ยวกับ NFT ตั้งแต่ปูพื้นฐาน จนถึงการประยุกต์ใช้ในการตลาดเพื่อธุรกิจ รวมถึงเคสตัวอย่างการใช้งานที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้เห็นและเข้าใจในการนำเทรนด์เหล่านี้ไปพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพิ่มความสามารถการแข่งขันให้กับธุรกิจ ชวนรู้จัก NFT กระแสมาแรงของโลก           พงศ์พิศิชญ์ ประทีปะวณิช ผู้ก่อตั้ง iKnowTerry Page ให้ข้อมูลในหัวข้อ ‘The Burgeoning Trend of NFT’ เกี่ยวกับพื้นฐานของ NFT ว่า คอนเซปต์หลักของ NFT คือ สถานะความเป็นเจ้าของ

ฉลองวันซูชิโลก ด้วยเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับแซลมอนจากนอร์เวย์

ฉลองวันซูชิโลก ด้วยเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับแซลมอนจากนอร์เวย์

หลายคนเข้าใจว่าแซลมอนหน้าซูชิเป็นวัฒนธรรมการกินของคนญี่ปุ่นที่มีมาช้านาน แต่รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้วต้นกำเนิดของการนำแซลมอนมาทำซูชิมาจากไอเดียของประเทศแห่งอาหารทะเลอย่างนอร์เวย์ เนื่องในวันที่ 18 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันซูชิโลก เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไปของอาหารจานโปรดของใครหลาย ๆ คนกัน ปลาสีส้ม หรือ แซลมอน เป็นวัตถุดิบยอดฮิตของร้านอาหารญี่ปุ่นทั่วโลกที่หลาย ๆ คนชื่นชอบ เพราะมีรสชาติถูกปากสามารถเข้าได้กับอาหารหลากหลายเมนู จะกินสุกหรือดิบก็อร่อย เหมาะกับการทำซูชิและซาชิมิ ซึ่งประเพณีการกินซูชิของชาวญี่ปุ่นนั้นมีมากว่า 500 ปีแล้ว แต่การนำแซลมอนมาเป็นส่วนหนึ่งของเมนูเพิ่งเกิดขึ้นในช่วงปี 2523 – 2533 นี้เอง จุดเริ่มต้นมาจาก Project Japan ด้วยความต้องการของชาวนอร์เวย์ที่มองหาตลาดใหม่ให้กับแซลมอน เลยตัดสินใจมุ่งหน้าไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อโน้มน้าวให้เชฟชาวญี่ปุ่นนำแซลมอนมาเป็นส่วนหนึ่งของเมนูซูชิ กลายเป็นการตีตลาดที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ด้วยความพิเศษของเนื้อแซลมอนจากนอร์เวย์ที่มีคุณภาพสูง ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจเวลากินแบบดิบ เชฟเองก็สามารถนำเกือบจะทุกส่วนของแซลมอนมาประกอบอาหารได้ไม่ซ้ำแบบ เรียกได้ว่าผลพวงของ Project Japan ในครั้งนั้น ทำให้แซลมอนไต่อันดับขึ้นไปครองใจผู้คนทั่วโลก และซูชิเองก็เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน   จากรายงานของสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ที่ทำการสำรวจกับผู้บริโภคจำนวน 20,000 ราย ในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก เมื่อปี 2563 พบว่าแซลมอนเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งในหมวดหมู่ซูชิและอาหารประเภทอื่น ๆ

แพทย์เผยข้อมูล ฝีดาษลิง ตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม ชี้ตรวจพบเร็วลดความเสี่ยงแพร่ระบาดได้

แพทย์เผยข้อมูล ฝีดาษลิง ตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม ชี้ตรวจพบเร็วลดความเสี่ยงแพร่ระบาดได้

เมื่อวันที่14 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด จับมือศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ ศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดงานเสวนาเชิงวิชาการออนไลน์ โรช คอนเน็ค เดอะ ดอทส์ (Roche Connect the Dots) ในหัวข้อ “ล้วงลึก เจาะประเด็น "ฝีดาษลิง" และการตรวจหาเชื้อแบบ PCR” เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก